คู่มือสำหรับประชาชน : การยื่นใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำของเข้าในราชอาณาจักร
หน่วยงานที่ให้บริการ :ด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์กระทรวงการคลัง
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต
หลักเกณฑ์
1) การนำของเข้าในราชอาณาจักรหมายถึงการนำของใดๆจากภายนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชราชอาณาจักรโดยการขนส่งทางเรือทางรถไฟทางรถยนต์คนเดินเข้ามาทางเครื่องบินทางไปรษณีย์ทางท่อขนส่งทางบกทางสายส่งไฟฟ้าทางเรือที่เข้าออกด่านศุลกากรทางบกเรือเล็กทางทะเลที่เข้าออกด่านศุลกากรทางทะเลทางผู้โดยสารนำพาขึ้นอากาศยานเป็นต้นเพื่อนำเข้ามาในราชอาณาจักร
2) การผ่านพิธีการศุลกากรให้สามารถกระทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Value Added Network Services หรือ VANS) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด (ebXML / XML Format) เสมือนจัดทำยื่นส่งรับเอกสารและการลงลายมือชื่อในกระดาษ
3) การยื่นใบขนสินค้าขาเข้าผู้นำของเข้าต้องจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนดและส่งข้อมูลดังกล่าวทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ทำการตอบรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นในการผ่านพิธีการแล้วจะถือเป็นการยื่นเอกสารนั้นๆตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรแล้ว
วิธีการ
ในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรผู้นำของเข้าจะต้องจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนดและส่งข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรก่อนการขนย้ายของมายังท่าหรือที่หรือสนามบินเพื่อการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยวิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าสามารถกระทำได้ 4 ช่องทาง
ผู้นำเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าด้วยตัวเอง
ผู้นำเข้ามอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน
ผู้นำเข้าใช้เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) ในการส่งข้อมูล
ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าและชำระค่าธรรมเนียมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรณท่า/ที่/สนามบินที่นำของเข้า
หลังจากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตรวจสอบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) กับระบบทะเบียนผู้มาติดต่อและตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิงการอนุมัติ/อนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบบัญชีสินค้า (Manifest) สำหรับเรือโดยอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์หากพบข้อผิดพลาดในการตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิงระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตอบรหัสผิดพลาดกลับไปให้ผู้ส่งข้อมูลให้ผู้นำของเข้าทำการแก้ไขข้อมูลและส่งข้อมูลการแก้ไขใบขนสินค้าขาเข้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
ถ้าไม่พบข้อผิดพลาดระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 14 หลักในสถานะพร้อมชำระค่าภาษีอากร (ถ้ามี) และแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ตอบกลับไปยังผู้ส่งข้อมูลโดยมีประเภทของเอกสารหลักเป็น 0 โดยถือเป็นการยื่นเอกสารใบขนสินค้าขาเข้าต่อศุลกากรแล้ว
ในส่วนการตรวจปล่อยสินค้าจะนำระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management) มาใช้ในการสั่งตรวจตามเงื่อนไขที่หน่วยงานศุลกากรกำหนดไว้ในระบบ Profile เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าเป็น 2 กลุ่มคือให้เปิดตรวจ (Red Line) หรือให้ยกเว้นการตรวจ (Green Line) เมื่อระบบตรวจสอบเสร็จแล้วจะสั่งการตรวจให้อัตโนมัติพร้อมกับแจ้งตอบกลับไปยังผู้ประกอบการทราบทางอิเล็กทรอนิกส์และแจ้งโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือทราบถึงผลการสั่งตรวจจากศุลกากร
กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) ผู้ประกอบการสามารถติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือรับมอบสินค้าทันที
กรณีให้เปิดตรวจ (Red Line) ผู้ประกอบติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือเพื่อเตรียมของเพื่อตรวจแล้วติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อตรวจปล่อยสินค้า
การชำระและวางเงินประกันค่าภาษีอากรผู้ประกอบการสามารถเลือกชำระและเลือกวางเงินประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือชำระและวางเงินประกันผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ได้
การวางค้ำประกันค่าภาษีอากรผู้ประกอบการสามารถเลือกวางค้ำประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือวางค้ำประกันผ่านทางธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Guarantee) ได้
การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าเป็นการตรวจปล่อยณท่าหรือที่หรือสนามบินศุลกากรที่ระบุในบัญชีสินค้าว่ามีชื่อส่งของถึงแต่ผู้ประกอบการสามารถแจ้งความประสงค์ขอขนย้ายสินค้าไปตรวจปล่อยนอกเขตท่าหรือสนามบินที่นำเข้าได้แต่ต้องแจ้งล่วงหน้าในขั้นตอนจัดเตรียมใบขนสินค้าก่อนส่งมายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
เงื่อนไขในการยื่นคำขอ
ผู้ส่งสินค้าเข้าดังกล่าวจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนทางศุลกากรและดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ
1. การนับระยะเวลาตามกฎหมายที่กำหนดระยะเวลาข้างต้นจะเริ่มนับตั้งแต่ข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศุลกากรจนถึงออกจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศุลกากรพร้อมทั้งออกเลขที่ใบขนสินค้า
2. ค่าธรรมเนียมในการดำเนินพิธีการทางศุลกากรที่ระบุไว้ในข้อ 5. จะยกเว้นสำหรับกรณีต่อไปนี้
2.1) กรณีผู้นำของเข้าเป็นส่วนราชการ
2.2) ใบขนสินค้าที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2530 ภาค 4 ซึ่งได้แก่ใบขนสินค้าขาเข้าในส่วน Import Declaration Detail สำแดง Import Tariff รหัสพิกัดศุลกากรภาค 4 ของสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรมีค่าเป็น PART 4 ในทุกรายการของใบขนสินค้าขาเข้า
2.3) ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษที่มีราคาของไม่เกิน 20,000 บาทได้แก่ใบขนสินค้าขาเข้าที่มีประเภทใบขนสินค้า (Document Type) = 5 และมีราคาของที่นำเข้า (CIF) ไม่เกิน 20,000 บาทต่อผู้นำของเข้าหนึ่งราย
2.4) ใบขนส่งสินค้าขาเข้าสำหรับของที่ขนย้ายหรือโอนระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรภายในประเทศได้แก่ใบขนสินค้าขาเข้าที่มีประเภทใบขนสินค้า (Document Type) = A หรือ C ที่ใช้ในการขนย้ายหรือโอนของที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรภายในประเทศสำหรับคลังสินค้าทัณฑ์บนเขตปลอดอากรเขตประกอบการค้าเสรีมาตรา 19 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520
2.5) ใบขนสินค้าขาเข้าที่นำของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการค้าเสรีโดยผู้นำของออกที่มีสิทธิได้รับยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2530 ภาค 4 หรือกฎหมายอื่นได้แก่
(2.5.1) ใบขนสินค้าขาเข้าที่มีประเภทใบขนสินค้า (Document Type) = A หรือ C หรือ P ที่นำของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนเขตปลอดอากรเขตประกอบการค้าเสรีโดยในส่วน Import Declaration Detail สำแดง Import Tariff รหัสพิกัดศุลกากรภาค 4 ของสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรมีค่าเป็น PART 4 ในทุกรายการของใบขนสินค้าหรือ
(2.5.2) ผู้นำของออกที่มีสิทธิได้รับเว้นอากรตามกฎหมายอื่นเช่นพระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ. 2518 โดยสำแดงรหัสสิทธิพิเศษ (Privilege Code) มีค่าเป็น 005 ในทุกรายการของใบขนสินค้าขาเข้า
2.6) ใบขนส่งสินค้าขาเข้าที่นำของซึ่งผลิตผสมประกอบหรือบรรจุตามมาตรา 19 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2543 และจำหน่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2530 ภาค 4 หรือกฎหมายอื่นได้แก่
(2.6.1) ใบขนสินค้าขาเข้าที่มีประเภทใบขนสินค้า (Document Type) = A หรือ P ที่นำของซึ่งผลิตผสมประกอบหรือบรรจุตามมาตรา 19 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2543 และโดยในส่วน Import Declaration Detail สำแดง Import Tariff รหัสพิกัดศุลกากรภาค 4 ของสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรมีค่าเป็น PART 4 ในทุกรายการของใบขนสินค้าหรือ
(2.6.2) จำหน่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายอื่นเช่นพระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ. 2518 โดยสำแดงรหัสสิทธิพิเศษ (Privilege Code) มีค่าเป็น 005 ในทุกรายการของใบขนสินค้าขาเข้า
3. ค่าธรรมเนียมคู่มือสำหรับประชาชน 40 บาท/หน้า
** ขั้นตอนการดำเนินงานตามคู่มือจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในคู่มือประชาชนเรียบร้อยแล้ว
ช่องทางการให้บริการ
สถานที่ให้บริการ
ด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์ 195 ถ.ปิ่นอนุสรณ์ต.เกาะหลักอ.เมืองจ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000 /ติดต่อด้วยตนเองณหน่วยงาน
(หมายเหตุ: -) ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ
ระยะเวลาในการดำเนินการรวม :5 นาที
ลำดับ ขั้นตอน ระยะเวลา ส่วนที่รับผิดชอบ
1) การพิจารณา
รับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าอิเล็กทรอนิกส์
(หมายเหตุ: (ระยะเวลาในการรับส่งข้อมูลจากผู้นำของเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์นับจากระยะเวลาที่ข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบผ่านการประมวลผลและส่งออกจาก Gateway ทั้งนี้จำนวนรายการสินค้าในใบขนสินค้าฉบับหนึ่งๆต้องไม่เกิน 20 รายการ)) 5 นาที ด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์
รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ
ลำดับ ชื่อเอกสาร จำนวน และรายละเอียดเพิ่มเติม (ถ้ามี) หน่วยงานภาครัฐผู้ออกเอกสาร
1)
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital signature)
ฉบับจริง0ฉบับ
สำเนา0ฉบับ
หมายเหตุ(ผู้ให้บริการ Internet)
-
ค่าธรรมเนียม
ลำดับ รายละเอียดค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียม (บาท / ร้อยละ)
1) ค่าธรรมเนียมในการผ่านพิธีการศุลกากรและตรวจปล่อยสินค้าต่อใบขนสินค้า
(หมายเหตุ: -) ค่าธรรมเนียม 200 บาท
ช่องทางการร้องเรียน แนะนำบริการ
ลำดับ ช่องทางการร้องเรียน / แนะนำบริการ
1) Support desk
(หมายเหตุ: (กรณีที่มีปัญหาในการรับส่งข้อมูล : ติดต่อ 02-667-7310-9))
2) ระฆังศุลกากร 1.นางสาวภาวนางามสุทธิ (นายด่านศุลกากร) โทร. 0 3261 1383 2.นายพงษ์ชัยศิลปอาชา(รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากร) โทร. 0 3261 1383 3.นายสง่าจงเพิ่มดำรงชัย(หัวหน้าฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1) โทร. 0 3261 1383
(หมายเหตุ: -)
3) โทรศัพท์สายด่วนศุลกากร 1332 ในวันและเวลาราชการ
(หมายเหตุ: -)
4) โทรสารหมายเลข 0 3261 1383
(หมายเหตุ: -)
5) ไปรษณีย์โดยทำเป็นหนังสือส่งมาที่กลุ่มคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรมกรมศุลกากรถนนสุนทรโกษาแขวงคลองเตยเขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร 10110
(หมายเหตุ: -)
6) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) ที่ ctc@customs.go.th
(หมายเหตุ: -)
7) สื่อสารมวลชน
(หมายเหตุ: (กรณีที่หัวหน้ากลุ่มคุ้มครองจริยธรรมของกรมศุลกากรเห็นควรรับเป็นเรื่องร้องเรียน))
8) ติดต่อด้วยตนเองในวันและเวลาราชการณกลุ่มคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรมกรมศุลกากรถนนสุนทรโกษาแขวงคลองเตยเขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร
(หมายเหตุ: -)
9) ศูนย์บริการศุลกากร (โทร. 1164) หรือหน่วยงานภาครัฐอื่น
(หมายเหตุ: -)
10) ศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(หมายเหตุ: ( เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลกเขตดุสิตกทม. 10300 / สายด่วน 1111 / www.1111.go.th / ตู้ปณ.1111 เลขที่ 1 ถ.พิษณุโลกเขตดุสิตกทม. 10300))
แบบฟอร์ม ตัวอย่างและคู่มือการกรอก
ลำดับ ชื่อแบบฟอร์ม
1) ข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามโครงสร้างที่กรมศุลกากรกำหนด
(หมายเหตุ: (ไฟล์ประกาศกรมศุลกากรที่ 23/2556 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2556 เรื่องคู่มือการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า (e-Import)))
หมายเหตุ
-
ชื่อกระบวนงาน:การยื่นใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำของเข้าในราชอาณาจักร
หน่วยงานกลางเจ้าของกระบวนงาน:กรมศุลกากรกรมศุลกากรกรมศุลกากร
ประเภทของงานบริการ:กระบวนงานบริการที่เบ็ดเสร็จในหน่วยเดียว
หมวดหมู่ของงานบริการ: อนุมัติ
กฎหมายที่ให้อำนาจการอนุญาต หรือที่เกี่ยวข้อง:
1)กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมในการดำเนินพิธีการทางศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
2)กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมในการดำเนินพิธีการทางศุลกากรพ.ศ. 2552
3)ประกาศกรมศุลกากรที่ 116/2549 ลงวันที่ 27 ธันวาคมพ.ศ. 2549 เรื่องการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์
4)ประกาศกรมศุลกากรที่ 23/2556 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่องคู่มือการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า (e-Import)
5)ประกาศกรมศุลกากรที่ 82/2556 ลงวันที่ 13 กันยายนพ.ศ. 2556 เรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการดำเนินพิธีการทางศุลกากร
6)พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2480
7)พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482
8)พระราชบัญญัติศุลกากรพระพุทธศักราช 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคมพ.ศ. 2515
ระดับผลกระทบ:บริการที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ/สังคม
พื้นที่ให้บริการ:ส่วนกลาง, ส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค (ตามกฎกระทรวง)
กฎหมายข้อบังคับ/ข้อตกลงที่กำหนดระยะเวลา:ประกาศกรมศุลกากรเรื่องการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานพ.ศ. 2555 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายนพ.ศ. 2555
ระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย / ข้อกำหนด ฯลฯ: 5.0
ข้อมูลสถิติของกระบวนงาน:
จำนวนเฉลี่ยต่อเดือน 303,000
จำนวนคำขอที่มากที่สุด 0
จำนวนคำขอที่น้อยที่สุด 0
ชื่ออ้างอิงของคู่มือประชาชน:การยื่นใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำของเข้าในราชอาณาจักรด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์
เอกสารฉบับนี้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ระบบสารสนเทศศูนย์กลางข้อมูลคู่มือสำหรับประชาชน
Backend.info.go.th
วันที่เผยแพร่คู่มือ: 15/09/2558